บทความ 02 : การผลิตที่นอนนุ่น ร้านอยู่บน-ใจ
หลังจากที่ได้อ่านบทความที่แล้วไปกันนะคะ (คลิกเพื่อย้อนอ่าน บทความที่ 01 : ขั้นตอนการเตรียมนุ่น)
บทความนี้เราจะนำเข้าสู่ "การผลิตที่นอนนุ่น" ค่ะ
1. "การเลือกผ้าที่นำมาผลิตที่นอนนุ่น" ผ้าในการผลิตที่นอนนุ่นที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่ คือ ผ้าไหมญี่ปุ่น เพราะตัวคุณสมบัติของผ้าไหมญี่ปุ่นนั้น หนา + เงา + มีลวดลาย + ระบายอากาศได้ดี + ทนทาน (เอาจริงๆข้อดีเยอะนะคะ) เพราะคุณสมบัติเหล่านี้นั่นเอง ที่ทำให้ผ้าไหมญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในการนำมาผลิตเป็นที่นอนนุ่น ความทนทานของผ้าไหมญี่ปุ่น ทำให้สามารถใช้งานได้มากกว่า 7 ปีขึ้นไปเลยทีเดียว ..... (หรือจะเป็นผ้า Cotton แบบในรูปก็ใช้ได้เหมือนกันค่ะ)
2. "การยัดนุ่นในที่นอน" ขั้นตอนนี้ถือว่าค่อนข้างยากนะคะ เหมือนจะง่ายๆก็แค่ยัดๆๆลงไป แต่จริงๆแล้ว เราจะต้องรู้ถึงเทคนิคการยัดให้นุ่นกระจายตัว และความแน่นของที่นอน เมื่อใช้งานไปสักพักแล้วจะไม่เกิดเป็นแอ่งกระทะ หรือที่เรียกว่าที่นอนยุบตัว ถ้ายัดแน่นเกินไปแทนที่จะได้ที่นอนที่นอนสบายๆกลับมานอนที่บ้าน กลายเป็นได้ที่นอนที่แข็งเกินไปสำหรับสรีระร่างกายกลับมาก็ได้นะคะ
3. "การขึ้นขอบที่นอน หรือที่เรียกว่า การคัดที่นอน" หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ!? มันคืออะไร แล้วทำไมที่นอนนุ่นต้องขึ้นขอบด้วยละ??? ... เพราะว่าที่นอนนุ่นจะมีคุณสมบัติพิเศษที่ไม่เหมือนที่นอนทั่วๆไปอยู่นิดนึง คือ ถ้าเรายัดนุ่นแน่นๆเข้าไป จะทำให้ที่นอนบวมออกมาด้านข้าง ที่จริงแล้วตรงจุดนี้ ไม่มีผลต่อการใช้งานใดๆทั้งสิ้นนะคะ แค่ทำให้ที่นอนมีเหลี่ยมมุมสวยงามในการนำไปวางบนที่นอนเท่านั้นเองค่ะ
4. "การห่อที่นอน" โดยปกติทั่วไปแล้ว ร้านค้าส่วนใหญ่จะใช้พลาสติกใสห่อที่นอนนุ่นไว้ให้เรียบร้อย เพื่อที่จะกันฝุ่นที่จะลงมาโดนที่นอน และละอองฝนระหว่างการขนส่ง แค่นี้ก็พร้อมแล้ว สำหรับการจัดจำหน่ายค่ะค่ะ ^^
.
.
.
อ่านจบแล้วอย่าลืมไปกด Like ให้กำลังใจกันนะคะ ^^